งานคืนข้อมูลผลการสำรวจฐานข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์ความเสี่ยงการแสวงประโยชน์จากเด็ก

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงรายมอบหมายให้ นางสาวมยุเรศ หัวนา หัวหน้ากลุ่มคุ้มครองสวัสดิภาพ เข้าร่วมรับฟังงานคืนข้อมูลผลการสำรวจฐานข้อมูลพื้นฐานสถานการณ์ความเสี่ยงการแสวงประโยชน์จากเด็กการละเมิดสิทธิเด็กและการค้ามนุษย์ในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงราย(อำเภอแม่สาย แำเภอแม่ลาว อำเภอเมืองเชียงราย) ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom Video Conference) โดยมี นายชายไทย รักษาชาติ ประธานมูลนิธิวัฒนเสรี กล่าวเปิดงานและ นายวรพงษ์ อินทองแมน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน กล่าวรายงาน


Share:



ร่วมป็นวิทยากรบรรยายในโครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ 2567 เวลา 08.30 – 12.00 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงรายมอบหมายให้ นางสาวมยุเรศ หัวนา นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ เข้าร่วมป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในปัจจุบัน” ภายใต้โครงการเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ กิจกรรม Canva we can do to Anti Trafficking ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 2 สำนักงานเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งจัดโดยสภาเด็กและเยาวชนอำเภอแม่สาย พร้อมด้วย บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงราย โดยมี ปลัดอำเภอแม่สาย ร่วมกับ พมจ.เชียงราย และ นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย เป็นประธานในการเปิด


Share:



DSI เชิญชวนดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน MAST เพื่อแจ้งเตือน และการแจ้งเหตุร้ายเพื่อการปราบปรามการค้ามนุษย์

จากการประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการป้องกันอาชญากรรมการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในระยะที่ 3 ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นนั้น ด้วยระยะที่ 3 เน้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่น (MAST Human Intelligence APP)ต่อยอดเป็นการแจ้งเตือน และการแจ้งเหตุร้าย เพื่อการปราบปรามการค้ามนุษย์ (จากระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ซึ่งเน้นการป้องกัน โดยการให้ความรู้เพื่อคุ้มครองแรงงาน และเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการรักษาสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน) เป็นการสนับสนุนการทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการกลั่นกรองข้อมูลดิจิทัลจากผู้เสียหาย ก่อนนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดย AI เพื่อนำไปสู่การเป็นคดีพิเศษ เช่นกันรวบรวมหลักฐาน การระบุพิกัดพื้นที่อันตรายหรือปลอดภัย


              ทั้งนี้ Application MAST ริเริ่มพัฒนาโดยบริษัท แมสต์ ฮิวแมน จำกัด (กิจการเพื่อสังคม) ออกแบบให้สามารถทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน เช่น ปุ่มแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน การติดตามตำแหน่งการแจ้ง ข้อมูล เพื่อพบเหตุร้าย การรีวิวโดยแรงงานเพื่อตรวจสอบสถานประกอบการที่ทำงาน และการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีสโลแกนคือ มี App นี้ไว้เหมือนมี DSI อยู่เคียงข้าง สำหรับภาษาที่ใช้ใน App มี 4 ภาษา คือภาษาไทย อังกฤษ พม่า และกัมพูชา สามารถดาวน์โหลดได้ทั่วโลกขณะนี้มีจำนวน ผู้ดาวน์โหลดแอพ ดังกล่าวแล้ว กว่า 7,300 คน ปัจจุบันเป็นแอปได้รับความสนใจในหลายองค์กรทั่วโลก รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีเดียวจาก 90 เทคโนโลยีที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกัน ปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์


              โดยที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการพัฒนา App MAST ระยะที่ 3 จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากจากกลุ่มแรงงานที่หลากหลาย จึงมีการกำหนดเป้าหมายจำนวนผู้ดาวน์โหลดถึง 100,000 คน และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของ DSI ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการป้องกัน และปราบปรามรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อจะพัฒนา App ให้ได้มากที่สุด ซึ่ง DSI ได้กำหนดเจ้าภาพภายในหน่วยงาน DSI  ที่รับผิดชอบงานแต่ละด้านแล้ว รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บัญชาการดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพิ่มเติมในการดำเนินการ 


              จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนดาวน์โหลด App MAST ดังกล่าว


Share:



5 ข้อรู้ทันมิจฉาชีพยุคใหม่ไม่โดนหลอกบน LINE

5 ข้อรู้ทันมิจฉาชีพยุคใหม่ไม่โดนหลอกบน LINE
AddLineOA https://lin.ee/c4ROElu
#ICTC_ENews_4_DigitalNewNormal
#ข่าวไอทีเพื่อวิถีใหม่ยุคดิจิทัล


Share:



เข้าเป็นวิทยากร อภิปรายโครงการอบรมสัมนาพนักงานสอบสวนและทีมงานสหวิชาชีพฯ

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 – 11.00 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย เข้าเป็นวิทยากร อภิปรายในหัวข้อ “กลไกการส่งต่อระดับชาติการบริหารจัดการคดี การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” ในโครงการอบรมสัมนาพนักงานสอบสวนและทีมงานสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวและป้องกันการละเมิดสิทธิตามกฏหมายแรงงานอันจะนำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ โรงแรม แคนทารี่ ฮิลส์ เชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


Share:



การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อระบุสถานการณ์ความเสี่ยงการแสวงประโยชน์จากเด็กที่นำไปสู่การค้ามนุษย์

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 12.00 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวมยุเรศ หัวนา หัวหน้ากลุ่มคุ้มครองสวัสดิภาพ เข้าร่วมกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ในหัวข้อการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อระบุสถานการณ์ความเสี่ยงการแสวงหาประโยชน์จากเด็กที่นำไปสู่การค้ามนุษย์ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย ณ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


Share:



อัครราชทูตอินโดนีเซีย” เข้าหารือ “ปลัด พม.” วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ให้นายซุกโม ยุโวโน (Mr. Sukmo Yuwono) อัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนาย จูดะห์ นูกราฮา (Mr. Judha Nugraha) ผู้อำนวยการคุ้มครองพลเมืองอินโดนีเซีย (Director for Protection of Indonesian Citizen) กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และคณะ เข้าพบ พร้อมหารือถึงความร่วมมือในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และ นางภิญญา จำรูญศาสน์ ผู้อำนวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ ร่วมหารือ ณ ห้องรับรอง ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Share:



รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ.2566

16 มิ.ย. 66 รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้รับการเผยแพร่ โดยปีนี้ “ไทย” ยังคงอยู่ในกลุ่ม Tier 2 สะท้อนความพยายามปรับปรุงแก้ไข แม้ว่าจะยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำขณะที่อีก 24 ประเทศ ยังอยู่ใน Tier 3 หรือระดับต่ำที่สุด เนื่องจากไม่มีความพยายามแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แนวโน้มการค้ามนุษย์ยุคหลังโควิด-19 ผ่านการหลอกลวงทางไซเบอร์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงขึ้น

 

รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ หรือ TIP Report ของรัฐบาลสหรัฐฯ ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดทิศทางการค้ามนุษย์ของหลายประเทศทั่วโลก แถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการค้าประเวณีอย่างจริงจัง

 

TIP Report ประจำปี 2023 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้รวบรวมสถานการณ์การค้ามนุษย์ใน 188 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ รายงานฉบับนี้จัดระดับสถานการณ์เป็น 4 กลุ่ม ตั้งแต่ Tier 1 – Tier 3

Tier 1 หรือ “กลุ่มดีที่สุด” มีทั้งหมด 30 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ
Tier 2 มี 105 ประเทศ
Tier 2 Watch List มี 26 ประเทศ
Tier 3 มี 24 ประเทศ และ Special Case หรือ กลุ่มเฝ้าระวัง อีก 3 ประเทศ
ปีนี้ไทยยังคงอยู่ในกลุ่ม Tier 2 สะท้อนความพยายามปรับปรุงแก้ไข
แม้ว่าจะยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมาย TVPA ก็ตาม
ขณะที่การทุจริตและการสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทย การสร้างความร่วมมือของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านยังมีความจำเป็น เนื่องจากไทยเป็นทั้งต้นทาง ทางผ่านและปลายทางการค้ามนุษย์

 

กาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่ารายงานได้สะท้อนถึงพัฒนาการสําคัญในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ระหว่างรัฐบาลไทยกับภาคส่วนต่างๆ ทำให้จำนวนการสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดี การตัดสินโทษและการระบุตัวตนผู้เสียหายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติ ดําเนินคดีและตัดสินโทษผู้กระทําผิดที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่

 

สถานการณ์การค้ามนุษย์ในอาเซียนเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ยกระดับหลายประเทศขึ้นมาจากรายงานเมื่อปีที่ผ่านมา เวียดนาม มาเลเซียและบรูไน ถูกเลื่อนจาก “Tier 3” เป็น “Tier 2 WL” ในขณะที่อินโดนีเซีย ถูกเลื่อนจาก “Tier 2 WL” เป็น “Tier 2”

 

ผลจากการระบาดของโควิด-19 ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนพฤติกรรมให้คนเริ่มหันมาใช้อินเทอร์เน็ตหางานผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ขบวนการค้ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากอัตราการว่างงานในการก่อเหตุ โดยเฉพาะเมียนมา กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ กานาและตุรกี

 

ยกตัวอย่างกรณี “ลวี่” อดีตคนงานก่อสร้างชาวจีน วัย 34 ปี ถูกขบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงให้มาทำงานก่อสร้างที่สีหนุวิลล์ของกัมพูชา แต่เมื่อเขาเดินทางมาถึงกลับถูกบังคับให้เปิดบัญชีปลอมบน เฟซบุ๊ก และ ติ๊กต่อก เพื่อหวังหลอกให้คนมาลงทุนในเหรียญคริปโต

 

สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC ชี้ว่าเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์อาจแตะหลักหมื่นและกำลังเผชิญชะตากรรมเลวร้าย TIP Report ยังให้ความสำคัญกับการแสวงหาประโยชน์จากเด็กชาย เพราะเด็กชายตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้นถึง 500%

 

การรับมือกับปัญหาขบวนการค้ามนุษย์ในรูปแบบใหม่มีความสำคัญ เพราะคนทุกเพศทุกวัยตกเป็นเป้าหมายของการค้ามนุษย์ได้ทั้งสิ้น

ขอบคุณเนื้อข่าวจาก TPBS


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial