กลไกการส่งต่อระดับชาติ National Referral Mechanism

สนับสนุนโดย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม)
The International Organization for Migration (IOM)


Share:



รูปแบบของการค้ามนุษย์ 8 รูปแบบ

รูปแบบของการค้ามนุษย์ 8 รูปแบบ
1. การค้าประเวณีหรือขายบริการทาเพศ เช่น การติดต่อจัดหาเด็กให้ขายบริการทางเพศ การหลอกลวงให้เดินทางไปค้าประเวณีต่างประเทศ เป็นต้น
2. การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก เช่น การถ่ายภาพ หรือวิดีโอลามกของเด็กและนำไปขายในอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อนำรูปลามกไปขาย เป็นต้น
3. การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ เช่น การใช้ให้เด็กเต้นหรือแสดงท่าทางโป๊เปลือยโดยเก็บเงินค่าเข้าชมหรือรวมกับค่าบริการอื่น ๆ ร้านนวดที่แอบแฝงบริการสำเร็จความใคร่ให้ลูกค้า เป็นต้น
4. การเอาคนเป็นทาส คือ การบังคับใช้แรงงาน เช่น การใช้แรงงานในที่พักอาศัย ร้านค้า สถานประกอบกิจการ และในภาอุตสาหกรรมประมง หรืออื่น ๆ เป็นต้น
5. การนำคนมาขอทาน เช่น การนำเด็กมาขอทาน หรือมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน เป็นต้น
6. การค้าอวัยวะมนุษย์ เช่น การลักพาตัวคนมาผ่าตัดอวัยวะไปขาย เป็นต้น
7. การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ เช่น การบังคับให้ทำงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็นด้วยประการใด ๆ การยึดเอกสารประจำตัวของแรงงานไว้ มีการสร้างเงื่อนไขการทำให้เป็นหนี้ของผู้ใช้แรงงาน หรือทำให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เป็นต้น
8. การกระทำอื่น ๆ ที่เป็นการขูดรีดมนุษย์ ไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เช่น การทำให้บุคคลหนึ่งต้องทนทำงานเพื่อชดใช้หนี้อย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น

ที่มา : กรมการท่องเที่ยว


Share:



6 ช่องทางลงทะเบียนยืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ

6 ช่องทางลงทะเบียนยืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ


Share:



Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก


Share:



DSI เชิญชวนดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน MAST เพื่อแจ้งเตือน และการแจ้งเหตุร้ายเพื่อการปราบปรามการค้ามนุษย์

จากการประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการป้องกันอาชญากรรมการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในระยะที่ 3 ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นนั้น ด้วยระยะที่ 3 เน้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่น (MAST Human Intelligence APP)ต่อยอดเป็นการแจ้งเตือน และการแจ้งเหตุร้าย เพื่อการปราบปรามการค้ามนุษย์ (จากระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ซึ่งเน้นการป้องกัน โดยการให้ความรู้เพื่อคุ้มครองแรงงาน และเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการรักษาสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน) เป็นการสนับสนุนการทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการกลั่นกรองข้อมูลดิจิทัลจากผู้เสียหาย ก่อนนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดย AI เพื่อนำไปสู่การเป็นคดีพิเศษ เช่นกันรวบรวมหลักฐาน การระบุพิกัดพื้นที่อันตรายหรือปลอดภัย


              ทั้งนี้ Application MAST ริเริ่มพัฒนาโดยบริษัท แมสต์ ฮิวแมน จำกัด (กิจการเพื่อสังคม) ออกแบบให้สามารถทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน เช่น ปุ่มแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน การติดตามตำแหน่งการแจ้ง ข้อมูล เพื่อพบเหตุร้าย การรีวิวโดยแรงงานเพื่อตรวจสอบสถานประกอบการที่ทำงาน และการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย โดยมีสโลแกนคือ มี App นี้ไว้เหมือนมี DSI อยู่เคียงข้าง สำหรับภาษาที่ใช้ใน App มี 4 ภาษา คือภาษาไทย อังกฤษ พม่า และกัมพูชา สามารถดาวน์โหลดได้ทั่วโลกขณะนี้มีจำนวน ผู้ดาวน์โหลดแอพ ดังกล่าวแล้ว กว่า 7,300 คน ปัจจุบันเป็นแอปได้รับความสนใจในหลายองค์กรทั่วโลก รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีเดียวจาก 90 เทคโนโลยีที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกัน ปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์


              โดยที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการพัฒนา App MAST ระยะที่ 3 จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากจากกลุ่มแรงงานที่หลากหลาย จึงมีการกำหนดเป้าหมายจำนวนผู้ดาวน์โหลดถึง 100,000 คน และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของ DSI ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการป้องกัน และปราบปรามรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อจะพัฒนา App ให้ได้มากที่สุด ซึ่ง DSI ได้กำหนดเจ้าภาพภายในหน่วยงาน DSI  ที่รับผิดชอบงานแต่ละด้านแล้ว รวมทั้งจัดตั้งศูนย์บัญชาการดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพิ่มเติมในการดำเนินการ 


              จึงขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนดาวน์โหลด App MAST ดังกล่าว


Share:



5 ข้อรู้ทันมิจฉาชีพยุคใหม่ไม่โดนหลอกบน LINE

5 ข้อรู้ทันมิจฉาชีพยุคใหม่ไม่โดนหลอกบน LINE
AddLineOA https://lin.ee/c4ROElu
#ICTC_ENews_4_DigitalNewNormal
#ข่าวไอทีเพื่อวิถีใหม่ยุคดิจิทัล


Share:



อัครราชทูตอินโดนีเซีย” เข้าหารือ “ปลัด พม.” วางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ให้นายซุกโม ยุโวโน (Mr. Sukmo Yuwono) อัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนาย จูดะห์ นูกราฮา (Mr. Judha Nugraha) ผู้อำนวยการคุ้มครองพลเมืองอินโดนีเซีย (Director for Protection of Indonesian Citizen) กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และคณะ เข้าพบ พร้อมหารือถึงความร่วมมือในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และ นางภิญญา จำรูญศาสน์ ผู้อำนวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ ร่วมหารือ ณ ห้องรับรอง ชั้น 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial