กลไกการส่งต่อระดับชาติ National Referral Mechanism

สนับสนุนโดย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม)
The International Organization for Migration (IOM)


Share:



รูปแบบของการค้ามนุษย์ 8 รูปแบบ

รูปแบบของการค้ามนุษย์ 8 รูปแบบ
1. การค้าประเวณีหรือขายบริการทาเพศ เช่น การติดต่อจัดหาเด็กให้ขายบริการทางเพศ การหลอกลวงให้เดินทางไปค้าประเวณีต่างประเทศ เป็นต้น
2. การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก เช่น การถ่ายภาพ หรือวิดีโอลามกของเด็กและนำไปขายในอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อนำรูปลามกไปขาย เป็นต้น
3. การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ เช่น การใช้ให้เด็กเต้นหรือแสดงท่าทางโป๊เปลือยโดยเก็บเงินค่าเข้าชมหรือรวมกับค่าบริการอื่น ๆ ร้านนวดที่แอบแฝงบริการสำเร็จความใคร่ให้ลูกค้า เป็นต้น
4. การเอาคนเป็นทาส คือ การบังคับใช้แรงงาน เช่น การใช้แรงงานในที่พักอาศัย ร้านค้า สถานประกอบกิจการ และในภาอุตสาหกรรมประมง หรืออื่น ๆ เป็นต้น
5. การนำคนมาขอทาน เช่น การนำเด็กมาขอทาน หรือมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน เป็นต้น
6. การค้าอวัยวะมนุษย์ เช่น การลักพาตัวคนมาผ่าตัดอวัยวะไปขาย เป็นต้น
7. การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ เช่น การบังคับให้ทำงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็นด้วยประการใด ๆ การยึดเอกสารประจำตัวของแรงงานไว้ มีการสร้างเงื่อนไขการทำให้เป็นหนี้ของผู้ใช้แรงงาน หรือทำให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เป็นต้น
8. การกระทำอื่น ๆ ที่เป็นการขูดรีดมนุษย์ ไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เช่น การทำให้บุคคลหนึ่งต้องทนทำงานเพื่อชดใช้หนี้อย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น

ที่มา : กรมการท่องเที่ยว


Share:



ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องกระบวนการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองภายในสถานคุ้มครองฯ

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 – 13.00 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวมยุเรศ หัวนา หัวหน้ากลุ่มคุ้มครองสวัสดิภาพ เข้าร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “กระบวนการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองภายในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์” ให้แก่ผู้นำชุมชน ภายใต้หัวข้อสิทธิเด็ก ภัยออนไลน์และการป้องกันการค้ามนุษย์ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิวัฒนเสรี ณ อาคารหอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่สาย ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้ในเรื่องสิทธิของเด็ก ภัยออนไลน์และการป้องกันการค้ามนุษย์ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน การตกเป็นเหยื่อในกระบวนการค้ามนุษย์ และการเเสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มเปราะบาง
——————————————————————
———————————————————————

Share:



6 ช่องทางลงทะเบียนยืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ

6 ช่องทางลงทะเบียนยืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ


Share:



30 กรกฎาคม วันต่อต้านการค้ามนุษย์สากล

30 กรกฎาคม
วันต่อต้านการค้ามนุษย์สากล
“Leave No Child Behind in the Fight Against Human Trafficking
เราจะไม่ทอดทิ้งเด็กให้ต่อสู้กับการค้ามนุษย์เพียงลำพัง”

Share:



อบรมเชิงปฏิบัติการ Training of Trainers (TOT) การคัดกรองและส่งต่อบุคคลที่อาจจะเป็นผู้เสียหาย

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 16.30 น. นางสาวพรนภา สำรีราษฎร์ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จังหวัดเชียงราย เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ Training of Trainers (TOT) การคัดกรองและส่งต่อบุคคลที่อาจจะเป็นผู้เสียหายกรณีแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ระหว่างวันที่ 17 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20 ห้องเอกมัย ชั้น 8 กรุงเทพมหานคร


Share:



(รมว.พม.) เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด Together We Can “Stop Cyber – Trafficking”

วันที่ 5 มิ.ย. 67 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด Together We Can “Stop Cyber – Trafficking” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) กล่าวรายงาน จากนั้น เป็นประธานพิธีมอบรางวัลดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวม 29 รางวัล ได้แก่ 1 ) บุคคลต้นแบบ 2) จังหวัดต้นแบบขับเคลื่อนตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism – NRM) 3) หน่วยงานดีเด่น และ 4) บุคคลดีเด่น นอกจากนี้ มีการเยี่ยมชมนิทรรศการผลการดำเนินงานของประเทศไทย (3P) ประกอบด้วย ด้านการดำเนินคดี การป้องกัน และการคุ้มครอง นิทรรศการผลงานของผู้รับรางวัล 29 รางวัล บูธการแสดงผลงานของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาทิ ภาครัฐ NGO และองค์การระหว่างประเทศ และบูธการแสดงผลิตภัณฑ์จากฝีมือของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ณ ห้องฟีนิกซ์ บอลรูม อาคารอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดนนทบุรี


Share:



ไทย ปราบค้ามนุษย์สัญญาณเป็นบวก เตรียมเฮ! สหรัฐฯ ถอดกุ้งไทยจากสินค้าเฝ้าระวัง

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดี ซึ่งเป็นผลจากนโยบายปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาล โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก หรือการบังคับใช้แรงงานเด็กข้ามชาติ ในอุตสาหกรรมประมงไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ กุ้งไทยถูกกำหนดให้อยู่ในประเภทสินค้าเฝ้าระวัง เนื่องจากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้แรงงานเด็กไม่เหมาะสมและไม่มีการควบคุม ส่งผลกุ้งที่ถูกสั่งซื้อมาจากประเทศไทย ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติมอยู่หลายครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็ก
.
ล่าสุด กระทรวงแรงงานของสหรัฐ ได้ประกาศขึ้นบนเว็บไซต์ Federal Register เสนอให้นำผลิตภัณฑ์กุ้งจากประเทศไทยออกจากข้อกำหนดดังกล่าวนี้ โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นว่า ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้แรงงานเด็กที่ถูกบังคับหรือผูกมัดในการผลิตกุ้งที่ประเทศไทย ทำให้ปัญหาการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยคลี่คลายไปได้มาก
.
จากทิศทางดังกล่าวจึงคาดการณ์ว่า รายได้จากการส่งออกกุ้งไทยจะเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันภาพลักษณ์แบรนด์อาหารทะเลไทยที่เคยถูกปัญหาการค้ามนุษย์และใช้แรงงานผิดกฎหมายบนเรือประมงไทยทำลายไป จะกู้คืนกลับมาได้ ซึ่งประโยชน์จะตกไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศที่จะกลับมามีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/83096

#ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial